การลงทุน และการส่งต่อความมั่งคั่ง ไม่ส่งต่อหนี้

Investment and wealth management
การลงทุน และการส่งต่อความมั่งคั่ง ไม่ส่งต่อหนี้

หลังจากที่คุณได้สร้างและสะสมความมั่งคั่งของตนเองมาระดับหนึ่ง ก็ถึงเวลาคิดและถามตัวเองว่าตอนนี้คุณมีทรัพย์สินอะไรบ้าง? แต่ละอย่างมีมูลค่าเท่าไหร่? หรือหากวันนี้คุณเป็นอะไรไป ทายาทจะได้รับมรดกอย่างที่คุณอยากยกให้หรือไม่?

เป็นไปได้ว่า…
ถ้าคุณไม่ได้มีการวางแผนและตระเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ตั้งแต่ตอนที่คุณยังมีชีวิตอยู่ ทรัพย์สมบัติของคุณอาจตกไปอยู่กับคนที่คุณไม่ได้ตั้งใจจะมอบให้ก็เป็นได้ ตัวอย่างก็มีให้เห็นตามข่าวหน้าหนึ่งอยู่บ่อยๆ… ญาติพี่น้องทะเลาะกันเพื่อแย่งชิงมรดก หรือลูกนอกสมรสออกมาเรียกร้องสิทธิในทรัพย์สมบัติ หนักเข้าก็ถึงขั้นฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต เสียทั้งชื่อเสียงและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก

“การส่งมอบความมั่งคั่ง” จึงเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่นๆ ในการบริหารจัดการความมั่งคั่ง เพราะจะช่วยให้สิ่งที่คุณสร้างสมมาตลอดชีวิตถูกจัดสรรให้แก่คนที่คุณรัก
ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือแม้กระทั่งการแบ่งปันให้กับผู้อื่นตามที่คุณต้องการ

โดยหัวใจหลักของการส่งมอบความมั่งคั่งก็คือ “การวางแผนมรดก” ที่จะช่วยส่งผ่านความมั่งคั่งร่ำรวยจากรุ่นสู่รุ่น แถมยังช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าทรัพย์สมบัติทั้งหมดจะถูกสืบทอดไปตามเจตนารมณ์ของคุณ

แต่ในบางครั้ง ก็พบเจอได้ในหลายๆครอบครัว ที่มักส่งต่อหนี้สิน จากรุ่นสู่รุ่นเป็นมรดกใครก็ไม่อยากได้นัก

พูดถึง “การวางแผนมรดก” หลายคนคงส่ายหน้าหนี ไม่เคยคิดที่จะวางแผนมรดกเลยสักครั้ง เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของคนรวย คิดว่าตัวเองมีทรัพย์สินไม่มากนักจะทำไปทำไมให้เสียเวลา หรือไม่ก็คิดว่าเป็นการแช่งตัวเอง ความคิดเหล่านี้ถือเป็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ลองปรับทัศนคติเสียใหม่…. ไม่ใช่แค่คนรวยที่มีทรัพย์สมบัติเงินทองมากๆ
หากใครยังมึนๆ งงๆ ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนดี ลองเริ่มจากการติดตามทรัพย์สินและหนี้สินของคุณที่กระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่างๆ ให้มารวมอยู่แหล่งเดียวกัน โดยการจดบันทึกไว้ว่าตนเองมีทรัพย์สินและหนี้สินอะไร? เป็นจำนวนเท่าไหร่? อยู่ที่ไหน? เพื่อให้เป็นระบบระเบียบและสะดวกตอนทำพินัยกรรมมากยิ่งขึ้น

ที่ต้องกล่าวถึงหนี้สิน เพราะหนี้สินก็อยู่ในข่ายที่จะเป็นมรดกตกทอดถึงทายาทได้เช่นเดียวกับทรัพย์สิน ดังนั้น คุณจึงควรระบุไว้ด้วยว่า… คุณมีหนี้สินอยู่ที่ไหน? รวมเป็นเงินเท่าไหร่?
เพื่อจะได้นำเงินในกองมรดกมาชำระหนี้สินให้เรียบร้อยก่อนแบ่งสรรปันส่วนกัน

แต่ยังมีการจัดการเพื่อไม่ให้หนี้สินนั้นส่งต่อถึงลูกหลานอีกวิธีนั่นก็คือ การทำประกันคุ้มครองวงเงินที่เป็นหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเมื่อเราไม่อยู่แล้วเราจะไม่สร้างปัญหาส่งต่อให้กับลูกหลานจากสิ่งที่เรานั้นได้สร้างไว้

จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนการทำ “พินัยกรรม” โดยพินัยกรรมถือเป็นคำสั่งเสียครั้งสุดท้าย เพื่อให้แน่ใจว่า… ทรัพย์สินจะถูกส่งต่อหรือถ่ายโอนไปยังบุคคลที่คุณรัก

การดูหนี้ดี / หนี้เสีย

คำตอบง่ายๆ หมั่นท่องจำไว้ว่า… สิ่งที่จะเรียกว่าเป็น “หนี้ดี” ได้นั้น จะต้องทำให้เรามั่งคั่งขึ้น
กล่าวคือ มีรายได้หรือทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และที่สำคัญต้องไม่กระทบต่อสภาพคล่องในการดำรงชีวิตประจำวัน
หากตกเรื่องความมั่งคั่งหรือสภาพคล่องข้อใดข้อหนึ่งไปจะถือว่าหนี้นั้นเป็น “หนี้ไม่ดี” ทันที
ตัวอย่างเช่น นายเอกกู้เงินซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย 1 หลัง แม้ว่านายเอกจะต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านเป็นประจำทุกเดือน แต่นายเอกก็มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากการค่อยๆ สะสมความเป็นเจ้าของ (เงินต้นที่ไปหักหนี้ออกทุกเดือน) รวมไปถึงมูลค่าบ้านและที่ดินที่สูงขึ้นตามเวลา อย่างนี้ถือว่าการซื้อบ้านสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับนายเอกได้

คำถามต่อมาจึงอยู่ที่ว่า… จำนวนเงินผ่อนรายเดือน ทำให้นายเอกมีปัญหาสภาพคล่องหรือเปล่า? ถ้าซื้อบ้านแล้วไม่มีปัญหาสภาพคล่อง ก็จะว่าถือว่าบ้านหลังนี้เป็นหนี้ดี แต่ถ้าส่งบ้านแล้วทำให้เงินไม่พอใช้ อย่างนี้ก็ถือเป็นหนี้ไม่ดี

โดยสรุป “การมีหนี้” ไม่ใช่ปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้คนเราไม่ร่ำรวย เพราะในโลกนี้มีทั้งหนี้ที่สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับสุขภาพทางการเงิน (หนี้ดี) และหนี้ที่ไม่สร้างสรรค์ แถมบั่นทอนสุขภาพทางการเงิน (หนี้ไม่ดี) แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า… เราเลือกสร้างหนี้ประเภทไหนให้กับชีวิตของเราต่างหาก

มาถึงตรงนี้… ลองสำรวจตัวเองดูสักนิดว่าตอนนี้คุณมีหนี้อยู่หรือไม่? “ถ้ามี” จัดเป็นหนี้ประเภทใดมากกว่ากัน ระหว่างหนี้ดีกับหนี้ไม่ดี ถ้าคำตอบ คือ ไม่มีหนี้หรือมีแต่หนี้ดี ก็ต้องขอแสดงความยินดีด้วย และทำนายได้เลยว่าคุณมีสิทธิที่จะมั่งคั่งได้ในอนาคต แต่ถ้าคุณมีหนี้และเป็นหนี้ไม่ดีด้วยละก็ บอกไว้เลยว่า “ความมั่งคั่ง” กับชีวิตของคุณยังคงเป็นเพียงเส้นขนาน

21216/POL/000786-583
021298777

นักลงทุนหลายคนคงรู้ดีว่า “ช่วงวัย” และ “อายุ”
เป็นตัวแปรสำคัญในการจัดสรรเงินลงทุน แต่ที่จริงแล้วปัจจัย
ที่มีผลกระทบต่อการจัดสรรเงินลงทุนของแต่ละคน
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องนี้เพียงเรื่องเดียว แต่ยังมีตัวแปรอีกหลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นสถานภาพทางการเงิน วัตถุประสงค์การลงทุน
ระยะเวลาในการลงทุน

แล้ววัยไหนควรจะมีพอร์ตการลงทุนอย่างไร?

✓ วัยเริ่มต้นทำงานอายุ 21 ถึง 30 ปี (90:10)
เป็นวัยที่ได้เปรียบในการออมและการลงทุนมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน ยังไม่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากนัก มีเวลาและกำลังในการหารายได้อีกนาน จึงสามารถ จัดสรรเงินไป

***ลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูงอย่างหุ้นได้ถึง 90% โดยหุ้นที่เลือกลงทุน ควรเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความมั่นคงทางการเงิน มีเงินปันผลที่น่าพอใจ และมีโอกาส เติบโตในอนาคต ส่วนอีก 10% ที่เหลือควรเก็บไว้ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้ที่มีความปลอดภัยของเงินต้นสูง และได้อัตราดอกเบี้ย ที่แน่นอน

✓ วัยสร้างครอบครัวอายุ 31 ถึง 40 ปี (50:50)
เป็นช่วงที่เหนื่อยที่สุดในชีวิต และเป็นช่วงที่การเงินค่อนข้างจะตึงเครียดกว่าช่วงอื่นๆ แม้หน้าที่การงานจะเริ่มมั่นคง รายได้เพิ่มสูงขึ้น แต่ภาระค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะอยู่ในช่วงที่กำลังสร้างครอบครัว แต่งงาน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเทอมลูก ฯลฯ เมื่อมี ภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก็น้อยลง ผู้ที่อยู่ในวัยนี้จึงควร

***ลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงหลือเพียง 50% ขณะเดียวกันก็เพิ่มสัดส่วนของเงินฝาก และตราสารหนี้ให้มากขึ้นเพื่อบาลานซ์ ความเสี่ยง

✓ วัยสร้างความมั่นคงอายุ 41 ถึง 50 ปี (30:70)
เป็นช่วงที่ชีวิตมีหลักฐานมั่นคงที่สุด ฐานเงินเดือนสูงขึ้น แม้จะยังมีภาระทางการเงินอยู่ แต่ก็ผ่อนคลายลงไปมาก ไม่เหมือนช่วงก่อนหน้านี้ หากเก็บออมและลงทุนอย่างมีวินัย มาตั้งแต่ต้น ช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงที่ครอบครัวและฐานะทางการเงินดี มีความสมดุลที่สุดในทุกๆ ด้าน แต่เนื่องจากวัยที่เริ่มมากขึ้น มีเวลาหารายได้เหลืออีกไม่กี่ปี การลงทุนของคนวัยนี้จึง

***เน้นให้นำเงิน 70% ไปไว้ในที่ปลอดภัยอย่างเงินฝากและตราสารหนี้ ส่วนที่เหลืออีก 30%
ให้แบ่งมาลงทุนในหุ้นระยะยาว

เพื่อเพิ่มพูนเงินออมและเงินลงทุนให้มากขึ้น นอกเหนือจากดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับ

✓ วัยเกษียณอายุ 50 ปีขึ้นไป (10:90)
เป็นช่วงที่บางคนไม่มีรายได้จากการทำงานแล้ว ขณะที่บางคนก็เหลือเวลาหารายได้อีก ไม่เกิน 5 ปี ในช่วงนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ได้ด้วยเงินสะสมของตนเอง แม้ค่าใช้จ่ายบางอย่างจะ ลดลง แต่ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นตามวัยและสุขภาพ เงินออมเกือบทั้งหมดในชีวิต กว่า 90% จึงควรอยู่ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ใช่ว่าคนวัยนี้ จะลงทุนในหุ้นไม่ได้ หากใครมีทรัพย์สินเงินทองเก็บออมไว้มากพอ ก็อาจจัดสรรเงินไม่เกิน 10% ไปลงทุนในหุ้น เพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น ถึงแม้จะผิดพลาดเกิดสูญเงินก้อนนี้ไป ก็คงไม่กระทบฐานะการเงินโดยรวมมากนัก

Leave a Comment